กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการสร้างชิ้นงานด้วยคอมพิวเตอร์

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสร้างชิ้นงาน
ด้วยคอมพิวเตอร์
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้
เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
กลุ่มของมาตรา ตาม พ.ร.บ.
( แบ่งกลุ่มเพื่อความสะดวกในการเรียนรู้ )
1. บทนำ และนิยามศัพท์ ๑ ถึง ๔ 2. การกระทำความผิด และบทลงโทษ ๕ ถึง ๑๑
3. ความผิด และบทลงโทษที่กระทบสังคม ๑๒ ถึง ๑๗ 4. อำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ๑๘ ถึง ๒๓
5. พยานหลักฐาน และผู้ให้บริการ ๒๔ ถึง ๒๗ 6. คุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ ๒๘ ถึง ๓๐สาระสำคัญของ พ.ร.บ.
1. ฐานความผิดที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์
(มาตรา 5-16)การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ (มาตรา 5)การล่วงรู้ถึงมาตรการป้องกันการเข้าถึง (มาตรา 6) การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์(มาตรา 7)การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ (มาตรา 8)การรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์ (มาตรา 9)การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ (มาตรา 10)การส่งสแปมเมล์
Spam Mail (มาตรา 11)การกระทำความผิดต่อความมั่นคง (มาตรา 12)การจำหน่าย / เผยแพร่ชุดคำสั่ง เพื่อใช้กระทำความผิด (มาตรา 13)
การปลอมแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ / เผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม (มาตรา 14)
ความรับผิดของผู้ให้บริการ (มาตรา 15)
การเผยแพร่ภาพจากการตัดต่อ / ดัดแปลง (มาตรา 16)
2. เขต (ประเทศ) อำนาจของศาลในการพิจารณาคดี (มาตรา 17)
3. อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายใหม่ (มาตรา 18-21)
อำนาจของเจ้าพนักงานโดยเด็ดขาด
(1) มีหนังสือสอบถาม / ให้ส่งคำชี้แจง ให้ถ้อยคำ
(2) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์
(3) สั่งให้ส่งมอบข้อมูลผู้ใช้บริการตามมาตรา 26
อำนาจของเจ้าพนักงานที่ต้องขออำนาจศาล
(4) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์
(5) สั่งให้บุคคลส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้จัดเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์
(6) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์
(7) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์
(8) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์
4. อำนาจของ รมต.ไอซีที ระงับการทำให้เผยแพร่.. (มาตรา 20)
5. บทกำหนดโทษสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ หากเปิดเผย หรือประมาท (มาตรา 22-24)
6. ข้อมูลที่ใช้เป็นพยายานหลักฐาน ต้องไม่เกิดจากการจูงใจ หรือข่มขู่ (มาตรา 25)
7. การจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ (มาตรา 26)
8. ข้อกำหนดให้ปฎิบัติตามพ.ร.บ.นี้ (มาตรา 27 – 30)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การรักษาสาธารณสมบัติ

การประหยัดน้ำ

ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต